[ไขทุกข้อสงสัย] อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ สาเหตุเกิดจากอะไร? สัญญาณอันตราย ที่ไม่ควรมองข้าม !!

[ไขทุกข้อสงสัย] อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ สาเหตุเกิดจากอะไร? สัญญาณอันตราย ที่ไม่ควรมองข้าม !!

อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (Urinary Incontinence) เป็นอาการที่มีน้ำปัสสาวะรั่วออกจากกระเพาะปัสสาวะ โดยไม่สามารถควบคุมได้ เกิดขึ้นได้ในทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ พบได้ประมาณ 9-35% มีทั้งแบบเป็นชั่วคราว เช่น หลังคลอด, หลังการติดเชื้อ หรือเป็นแบบเรื้อรัง ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และบั่นทอนคุณภาพชีวิตได้ไม่ต่างกัน


สัญญาณอันตราย อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

1. อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เกิดจากสาเหตุอะไร ?

สามารถแบ่งประเภทของ ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (Urinary Incontinence, UI) ออกเป็น 5 ประเภท ตามสาเหตุการเกิดดังนี้


อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เกิดจากสาเหตุอะไร ?

1.1 เกิดจากการออกแรงเบ่ง Stress urinary incontinence (SUI)


อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เกิดจากการออกแรงเบ่ง

เป็นความผิดปกติ ที่เกิดขึ้นในคนที่มีหูรูดท่อปัสสาวะ (Urethral sphincter) หลวม หรือกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานส่วนล่าง (Pelvic floor) หย่อนยาน โดยเฉพาะหญิงที่เคยคลอดลูกเองตามธรรมชาติ เมื่อเกิดการเพิ่มแรงดันในช่องท้อง เช่น การออกแรงเบ่ง, การยกของหนัก, ไอ, จาม จะทำให้มีปัสสาวะเล็ดออกมา ในจังหวะเดียวกับการออกแรงเบ่งได้

1.2 เกิดจากกระเพาะปัสสาวะทำงานไวเกิน Urgency/Urge urinary incontinence (UUI)

เป็นอาการปัสสาวะเล็ด ซึ่งอยู่เหนือการควบคุม หากรู้สึกปวดปัสสาวะ จะมีปัสสาวะออกมาเกือบทั้งหมดทันที หากเรียกว่า ปัสสาวะราด จะช่วยให้เห็นภาพชัดเจนกว่า เกิดจากการที่กระเพาะปัสสาวะทำงานไวเกิน (Overactive bladder, OAB) อาจเป็นความผิดปกติที่ระบบประสาท, กล้ามเนื้อ (Detrusor muscle) หรือเนื้อเยื่อภายในกระเพาะปัสสาวะ (Urothelium)


อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เกิดจากกระเพาะปัสสาวะทำงานไวเกิน"

ซึ่งอาจเกิดตามหลังภาวะต่าง ๆ ดังนี้

  • การบาดเจ็บของสมองหรือไขสันหลัง
  • เกิดการอุดตันในระบบทางเดินปัสสาวะ
  • เกิดการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ (Interstitial cystitis)
  • โรคต่อมลูกหมากโต (Benign Prostatic Hyperplasia, BPH)
  • โรคเบาหวาน

1.3 เกิดจากการออกแรงเบ่ง ร่วมกับกระเพาะปัสสาวะทำงานไวเกิน Mixed urinary incontinence (MUI)

เป็นอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ของปัสสาวะเล็ดจากแรงเบ่ง (SUI) ร่วมกับปัสสาวะราด (UUI) ซึ่งเกิดจากความผิดปกติร่วมกัน ของหูรูดและกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ โดยพบว่า 20-30% ของคนที่เกิดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้แบบเรื้อรั้ง (Chronic urinary incontinence) เป็นแบบ Mixed urinary incontinence (MUI) นี้

1.4 เกิดจากกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะไม่ทำงาน Overflow urinary incontinence (OUI)


อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่  เกิดจากกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะไม่ทำงาน

เป็นอาการปัสสาวะเล็ด ที่เกิดจากกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะทำงานบกพร่อง เกิดการขยายตัวมากเกินไป และไม่หดตัวแม้น้ำปัสสาวะจะเต็มจนล้น และอาจเกิดร่วมกับมีการอุดตันรูออกของกระเพาะปัสสาวะ (Bladder outlet obstruction) ที่เชื่อมต่อกับท่อปัสสาวะ ซึ่งอาจเกิดจากก้อนในช่องท้อง หรือในอุ้งเชิงกรานมากดเบียด เช่น ในคนที่มีต่อมลูกหมากโต (Benign Prostatic Hyperplasia, BPH) หรืออาจพบได้จากการบาดเจ็บไขสันหลัง, โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis, MS), โรคเบาหวาน

1.5 เกิดจากระบบประสาทผิดปกติ Neuropathic urinary incontinence

มีหลายโรคหรือภาวะที่ทำให้สมอง, ไขสันหลัง หรือระบบประสาทส่วนปลายทำงานผิดปกติ ซึ่งส่งผลให้กระเพาะปัสสาวะหรือหูรูด ไม่สามารถรับสัญญาณประสาท เพื่อมาควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อให้เป็นปกติได้

2. ภาวะแทรกซ้อน จากอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่


ภาวะแทรกซ้อน จากอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
  • ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ จากการที่มีน้ำปัสสาวะเลอะตลอดเวลา ทำให้เกิดความอับชื้น จึงง่ายต่อการติดเชื้อย้อนขึ้นสู่ทางเดินปัสสาวะส่วนบน หรืออาจเกิดจากขั้นตอนการรักษา ที่ต้องใส่สายสวนปัสสาวะ ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้
  • ติดเชื้อบริเวณผิวหนัง อาจเกิดแผลจากการเสียดสี ประกอบกับสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการติดเชื้อ
  • ไตทำงานผิดปกติ ซึ่งเป็นผลจากการที่มีปัสสาวะค้างนาน อยู่ในกระเพาะปัสสาวะ
  • มีปัญหาในการมีเพศสัมพันธ์ หากมีอาการปัสสาวะที่เล็ดขณะทำกิจกรรม
  • เพิ่มความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ พลัดตกหกล้ม หากไม่ได้แก้ปัญหาปวดฉี่ตอนกลางคืน เพราะร่างกายตื่นตัวไม่เต็มที่ และอาจมีแสงสว่างไม่เพียงพอ
  • ไม่สามารถประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้เหมือนเดิม
  • ซึมเศร้า และแยกตัวออกจากสังคม

3. สมุนไพรช่วยลดอาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้


อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ รักษาด้วยสมุนไพรชั้นเลิศ

หลายคนใช้ยาแผนปัจจุบัน เพื่อแก้ปัญหาปวดฉี่ตอนกลางคืน ลดอาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ แต่กลับเกิดผลข้างเคียง ที่อาจทำให้ชีวิตลำบากมากขึ้น ทั้งตาแห้ง, ปากแห้ง, คอแห้ง, ใจสั่น, หน้ามืด, อ่อนเพลีย, ท้องผูก จะดีกว่าไหมถ้ามีสมุนไพรแก้ปัสสาวะบ่อยได้ ?



ยูเฮอร์เบิล (Uherbal) เป็นสารสกัดจากสมุนไพรหลายชนิด มีทั้ง Uherbal W สูตรสำหรับผู้หญิง และ Uhermal M สำหรับผู้ชาย ซึ่งจะช่วยดูแลอาการปัสสาวะเล็ด, ปัสสาวะราด, ปัสสาวะขัด, กระเพาะปัสสาวะอักเสบ และอาจช่วยลดอาการของนิ่วในทางเดินปัสสาวะได้

นอกจากนี้ยูเฮอร์เบิล ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระและวิตามินอีกหลายชนิด ที่จะช่วยดูแลระบบสมอง, ระบบหายใจ, หัวใจและหลอดเลือด, ทางเดินอาหาร, ภูมิคุ้มกัน  และระบบสืบพันธุ๋ เพื่อช่วยสนับสนุนร่างกาย ให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

4. สรุป

อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ อาจฟังดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่หากปล่อยไว้ไม่ได้รักษา อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ที่มีผลกระทบกับการใช้ชีวิตในระยะยาวได้ ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งกล้ามเนื้อ, เนื้อเยื่อ, หูรูดของกระเพาะปัสสาวะเอง หรืออาจเกิดจากความผิดปกติของส่วนควบคุมจากสมองและไขสันหลัง นอกจากการรักษาด้วยการใช้ยาเคมีแล้ว การใช้สมุนไพรแก้ปัสสาวะบ่อย อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยลดผลข้างเคียง จากการใช้ยาแผนปัจจุบันได้

5. อ้างอิงจาก

[1]   Lue TF, Tanagho EA. Urinary Incontinence. In: Mcaninch JW, Lue TF, editors. Smith & Tanagho’s General Urology. 19 ed. New York: McGraw-Hill Education; 2020. p. 499-506. [2]   Tran LN, Puckett. Y. Urinary Incontinence. [Internet].  Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2021. [cited 2021, June 20]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK559095/. [3]   Khandelwal C, Kistler C. Diagnosis of urinary incontinence. Am Fam Physician. 2013 Apr 15;87(8):543-50. PMID: 23668444.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *