นิ่ว คือ ก้อนหินเล็ก ๆ ซึ่งเกิดจากการจับตัวกันของผลึกตกเป็นตะกอน มีชนิดและขนาดที่แตกต่างกันไปอยู่ในร่างกายตามอวัยวะส่วนต่างๆ โดยมักจะเกิดขึ้นบริเวณไต และอาจพบได้ในระบบทางเดินปัสสาวะ นานวันขึ้นขนาดของนิ่วก็จะมีโอกาสที่จะโตมากขึ้น อาจสร้างความเจ็บปวดทรมานให้กับผู้ป่วยได้ หากก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่จนอุดตันก็จะทำให้เกิดการอักเสบกับอวัยวะต่างๆ ซึ่งจะมีอาการแตกต่างกันออกไปตามบริเวณที่เกิดนิ่ว ซึ่งวันนี้เราจะมาคุยกันว่านิ่วมีกี่ชนิด เกิดจากอะไร อาการ สาเหตุ รวมถึงวิธีป้องกันและรักษา
1. นิ่วมีกี่ชนิดกันนะ?
ในทางการแพทย์นิ่วมีกี่ชนิด นั้น จะเรียกตามตำแหน่งที่อยู่ของการเกิดนิ่ว ได้แก่ นิ่วในไต นิ่วในท่อไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ นิ่วในท่อปัสสาวะ โรคนิ่วนั้นมักเริ่มต้นเกิดในไต และต่อมาเลื่อนตำแหน่งไปยังกรวยไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ ซึ่งถ้านิ่วมีขนาดเล็กก็จะหลุดออกมาเองได้ตอนผู้ป่วยปัสสาวะ แต่ถ้านิ่วมีขนาดใหญ่ก็จะไปอุดตันตามตำแหน่งต่างๆ การมีนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้ เช่น การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ การทำงานของไตเสื่อมลง และอาจร้ายแรงจนถึงเกิดภาวะไตวายเรื้อรังและโรคไตระยะสุดท้าย ซึ่งทำให้เสียชีวิตได้
2. สาเหตุของการเกิดนิ่ว
สาเหตุที่ทำให้เกิดก้อนนิ่วยังไม่มีใครทราบแน่นอน ไม่ว่า นิ่วมีกี่ชนิด แต่มักมีเหตุส่งเสริมที่ทำให้เกิดนิ่วได้ง่ายขึ้นจาก กรรมพันธุ์ อายุ เพศชายมีโอกาสมากกว่าเพศหญิง ภาวะที่มีการคั่งของน้ำปัสสาวะอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ ในผู้ป่วยชายซึ่งเป็นโรคต่อมลูกหมากโต ในอาหารบางชนิดและปริมาณอาหารที่มีผลต่อการขับสารบางชนิดออกมาทางปัสสาวะ การดื่มน้ำและปริมาณปัสสาวะ ผู้ที่ดื่มน้ำน้อยและปัสสาวะน้อยครั้ง มีโอกาสพบนิ่วได้มากกว่าหรืออาหารบางประเภท เช่น พวกเครื่องในสัตว์หรือพวกผักสด หน่อไม้ สภาพแวดล้อม ภูมิอากาศที่มักพบนิ่วในหน้าร้อน และภูมิอากาศแห้งแล้งมากกว่า
3. อาการของโรคนิ่ว
สำหรับอาการของโรคก็จะเกิดแตกต่างกันตามชนิดของโรคนิ่ว เช่น นิ่วที่ไต มักจะทำให้มีอาการปวดหลัง เอวหรือท้องน้อย ขึ้นอยู่กับขนาดของนิ่ว ตำแหน่งของการอุดตัน นิ่วในถุงน้ำดี ก็จะมักจะมีอาการท้องอืด แน่นท้อง โดยเฉพาะเวลาหลังทานอาหารมัน นิ่วในกระเพาะปัสสาวะก็จะพบอาการ ปัสสาวะลำบาก มีอาการแสบหรือขัดปัสสาวะมีเลือดปน ปัสสาวะไม่ออก ปัสสาวะกะปริบกะปรอย ปวดบริเวณบั้นเอวหรือท้อง บางรายอาจมีไข้ร่วมด้วย หรืออาจส่งผลต่ออาการไตเสื่อมไตวายเพราะก้อนนิ่วไปปิดกั้นทางระบายของเสียออกจากร่างกายได้อีกด้วย
4. การรักษาโรคนิ่ว
เมื่อผู้ป่วยสงสัยว่าเป็นโรคนิ่ว เช่น อาการปวดหลัง ปวดเอว ปัสสาวะแสบขัด ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อจะได้ทำการซักประวัติ ตรวจ ร่างกาย และตรวจน้ำปัสสาวะ ซึ่งอาจจะพบว่ามีเม็ดเลือดแดงหรือเม็ดเลือดขาว ในน้ำ ปัสสาวะ และอาจต้องส่งผู้ป่วยไปเอกซเรย์บริเวณไตและกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งจะทำให้ บอกได้ว่าผู้ ป่วยคนนั้นมีนิ่วในระบบทางเดินน้ำปัสสาวะหรือไม่
5. การป้องกันการเกิดนิ่ว
สำหรับการป้องกันการเกิดนิ่วนั้นสิ่งที่เราสามารถดูแลได้ด้วยตัวเองและได้ผลก็คือการดื่มน้ำเยอะๆ เพราะจะช่วยลดความเข้มข้นและโอกาสของการตกผลึกจนเป็นสาเหตุของการเกิดนิ่วได้ ซึ่งเราน่าจะเคยได้ยินผู้ใหญ่หรือคนมีอายุเตือนกันมาบ้างว่าดื่มน้ำน้อยระวังเป็นนิ่ว ทั้งนี้ในผู้ป่วยบางรายที่อาจจะหายจากอาการของนิ่วแล้วก็ยังมีโอกาสกลับมาเป็นนิ่วที่ใหม่ได้จึงไม่ควรวางใจ
6. ขับนิ่วด้วยสมุนไพร Uherbal ทางเลือกใหม่ของผู้ป่วย
นิ่วมีกี่ชนิด อาจไม่สำคัญเท่าการป้องกันไม่ให้เกิดโรคขึ้น แต่ถ้าหากเกิดขึ้นแล้ว การมีตัวช่วยมาผ่อนหนักเป็นเบาก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ ซึ่งสมุนไพร UHERBAL เป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดอาการปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะกะปริบกะปรอย ปัสสาวะไม่สุด ปัสสาวะขัด แสบร้อนเวลาปัสสาวะปวดท้องน้อยเวลาปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เหมาะทั้งสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี ผสมผสานพืชสมุนไพรและสารสกัดจากธรรมชาติที่เต็มไปด้วยคุณประโยชน์ที่ดีต่อร่างกาย ปราศจากสารเติมแต่งต่าง ๆ
บรรจุลงในแคปซูลที่ทำมาจากพืชทานง่ายได้ประโยชน์เต็ม ๆ ซึ่งทางโรงงานได้ปลูกสมุนไพรเองส่วนหนึ่ง และใช้สมุนไพรนำเข้าจากแหล่งสมุนไพรธรรมชาติระดับโลก ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการสกัดตัวยาออกมา ที่ยังคงสรรพคุณตัวยาแบบเข้มข้น แต่มีความสะอาด ปลอดภัยทั้งต่อตัวคนและสิ่งแวดล้อม ได้มาตรฐาน GMP Codex, Haccp แคปซูล (V -cap Caps) ทำจากเส้นใยพืช เหมาะกับผู้ที่ทานมังสวิรัติได้รับการรับรองมาตรฐานฮาลาล คุณจึงมั่นใจได้ในเรื่องของความปลอดภัยในการให้เราเป็นทางเลือกเพื่อรักษาและป้องกันการเกิดนิ่ว
ได้ทราบกันไปแล้วว่านิ่วมีกี่ชนิด มีสาเหตุและอาการอย่างไร รวมถึงจะป้องกันได้อย่างไร สำหรับท่านใดที่มีปัญหาเรื่องนิ่วสามารถสอบถามกันเข้ามาได้กับทาง Uherbal เรามีทีมงานที่จะคอยตอบคำถามและให้คำปรึกษาเพื่อให้คุณมีสุขภาพดี ทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพ โดยที่ไม่ต้องกังวลใจกับปัญหาที่เกิดจากนิ่วอีกต่อไป