ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน (Nocturia) เป็นปัญหาที่มักถูกมองข้าม คนที่มีอาการอาจไม่ทราบว่า เป็นปัญหาที่ควรให้ความสำคัญ หรืออาจจะทราบ แต่ไม่ได้ตระหนักถึงความรุนแรงของผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ที่สำคัญคือเป็นอาการที่มีความสัมพันธ์ กับอัตราตายที่เพิ่มขึ้นในทุกช่วงวัย ซึ่งเกิดจากความเสี่ยงในชีวิตที่เพิ่มขึ้นหลายด้านเลยทีเดียว
1. เมื่อไหร่ถึงเรียกว่า ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน ?
ปัสสาวะบ่อยเวลากลางคืน คือการตื่นขึ้นมาปัสสาวะ 2 ครั้ง/คืน ซึ่งพบได้ 2%-18% ในช่วงอายุ 20-40 ปี และเพิ่มมากขึ้นเป็น 28%-62% ในช่วง 70-80 ปี บางคนอาจไม่ทราบว่า การปัสสาวะบ่อยช่วงกลางคืน เป็นหนึ่งในความผิดปกติ ซึ่งมีผลลดคุณภาพชีวิต ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม
2. ความเสี่ยงที่เกิดขึ้น จากการปัสสาวะบ่อยช่วงกลางคืน
2.1 เพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต
งานวิจัยที่ตีพิมพ์ ในวารสารสมาคมศัลยแพทย์ทางเดินปัสสาวะ แห่งสหรัฐอเมริกา (American Urological Association) รายงานว่า อาการปัสสาวะบ่อยเวลากลางคืน เพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต 15.5% ในผู้ชาย และ 20.9% ในผู้หญิง โดยเฉพาะคนที่มีอายุน้อยกว่า 65 ปี เกิดจากการรบกวนการนอนหลับ ซึ่งส่งผลต่อการเกิดโรคเรื้อรังที่ทำให้เสียชีวิต
2.2 เสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก
การตื่นกลางดึก อาจทำให้มองเห็นได้ไม่ชัดเจน ประกอบกับร่างกายไม่ตื่นตัวอย่างเต็มที่ ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้นถึง 16.2% และพบว่า ยิ่งปวดปัสสาวะบ่อยครั้ง ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้มากขึ้น โดยเฉพาะการเกิดกระดูกสะโพกหัก
ส่วนผลทางอ้อม จากการเกิดกระดูกหัก คือการเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และยังสูญเสียรายได้จากการหยุดงาน รวมถึงอาจต้องยกเลิกโครงการ หรือแผนกิจกรรมที่วางไว้ด้วย
2.3 เสี่ยงกับโรคกลุ่มเมตะบอลิกส์
บางครั้งอาจรู้สึกปัสสาวะไม่สุด จนเกิดภาวะปัสสาวะบ่อยกลางดึก ทำให้เพิ่มความเสี่ยง ต่อการเกิดโรคกลุ่มเมตะบอลิกส์ (Metabolic Syndromes) ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวานชนิดที่ 2, โรคไขมันในเลือดสูง และโรคอ้วน เป็นผลมาจากคุณภาพการนอนที่ลดลง เพราะมีการรบกวนวงจรการนอน (Sleep Cycle) โดยเฉพาะในระยะที่ 3 (N3) ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดการซ่อมแซมร่างกาย และการหลั่งฮอร์โมนที่สำคัญต่าง ๆ
2.4 เสี่ยงโรคซึมเศร้า (Depression)
มีการศึกษาพบว่า การปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะซึมเศร้า โดยเฉพาะในผู้หญิงอายุน้อยกว่า 50 ปี โดยพบว่า ยิ่งปวดปัสสาวะบ่อย ยิ่งเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าเพิ่มขึ้น อธิบายได้จากการทำงานของฮอร์โมน และสารเคมีในสมองที่ถูกรบกวนขณะนอน
2.5 เสี่ยงต่อการลดลงของคุณภาพชีวิต
หนึ่งในปัญหาการนอนที่พบได้บ่อยคือ เมื่อตื่นกลางดึกแล้วทำให้หลับต่อยาก ซึ่งทำให้เกิดความเหนื่อยล้า และอ่อนเพลียในตอนกลางวัน ส่งผลรบกวนการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในช่วงวัน ในระยะยาวอาจทำให้ความตื่นตัวลดลงเรื่อย ๆ ซึ่งส่งผลเสียต่อร่างกายและคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะคนที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
3. ลดความเสี่ยงด้วยยูเฮอร์เบิล
นอกจากการลดความเสี่ยงด้วยการปรับพฤติกรรม โดยปรับเวลาการดื่มน้ำและรับประทานยาแล้ว คุณยังสามารถเพิ่มการดูแลตัวเอง ด้วยการใช้ยูเฮอร์เบิล ในการดูแลอาการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน ร่วมด้วยได้
3.1 ยูเฮอร์เบิลผลิตจากสารสกัดธรรมชาติ
ยูเฮอร์เบิล (Uherbal) เป็นสารสกัดจากสมุนไพรธรรมชาติ รวมสรรพคุณของสมุนไพรชั้นดี จากไทย, จีน, เกาหลี และสหรัฐอเมริกาไว้ในขวดเดียว
- ยูเฮอร์เบิล ดับเบิ้ลยู (Uherbal W) สำหรับผู้หญิง ประกอบด้วยสารสกัดจากแครนเบอร์รี, โกจิเบอร์รี, เห็ดหลินจือ, ตังกุย, ตี้หวง, โตวต๋ง, โสมเกาหลี, ถั่งเช่า, ขิง, ตรีผลา, คำฝอย และกระเจี๊ยบแดง
- ยูเฮอร์เบิล เอ็ม (Uherbal M) สำหรับผู้ชาย ประกอบด้วยสารสกัดจากแครนเบอร์รี, โกจิเบอร์รี, เห็ดหลินจือ, ตี้หวง, โตวต๋ง, โสมเกาหลี, ถั่งเช่า, ตรีผลา, กระเจี๊ยบแดง, โป่งรากสน, กระชายดำ, ใบหม่อน, เมล็ดฟักทอง และไลโคปีนจากมะเขือเทศ
3.2 ยูเฮอร์เบิลช่วยดูแลร่างกาย
- ระบบไต
ดูแลอาการปวดปัสสาวะบ่อย, ปัสสาวะกระปริบกระปรอย, ปัสสาวะขัด, ปัสสาวะเล็ด, อั้นปัสสาวะไม่อยู่, ปัสสาวะมีเลือดปน รวมถึงภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบ รู้สึกเหมือนปัสสาวะไม่สุด อาจช่วยลดอาการที่เกิดจากนิ่วในท่อไต และ ต่อมลูกหมากโต - ระบบสมอง
วิตามินที่สกัดได้จากสมุนไพรหลายชนิด ช่วยดูแลเรื่องความทรงจำ ซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยง ต่อภาวะความจำบกพร่องได้ - ระบบหัวใจและหลอดเลือด
เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า สารต้านอนุมูลอิสระช่วยลดการอักเสบได้ จึงมีผลช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจหลอดเลือด แต่ผลลัพธ์ที่ได้ ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคนด้วย - ระบบการหายใจ
ช่วยดูแลเนื้อเยื่อปอดที่บาดเจ็บ ทำให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนของร่างกายดีขึ้น - ระบบทางเดินอาหาร
ช่วยดูแลการทำงานของตับ ที่เปรียบเสมือนโรงงานฟอกสารพิษของร่างกาย และอาจช่วยลดอาการ ที่เกิดจากนิ่วในถุงน้ำดีได้ - ระบบภูมิคุ้มกัน
ช่วยดูแลให้เซลล์เม็ดเลือดขาว อยู่ในระดับสมดุล - ระบบการสืบพันธุ์
ทำให้มดลูกและอสุจิแข็งแรง เพิ่มโอกาสการมีบุตร
3.3 กระบวนการผลิตได้มาตรฐาน
ยูเฮอร์เบิลเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่ช่วยดูแลร่างกาย โดยมีการวิจัยและพัฒนาสมุนไพรในระดับนานาชาติ ผลิตด้วยขั้นตอนมาตรฐาน ใช้เทคโนโลยีทันสมัย ผ่านโรงงานมาตรฐานระดับสากล
3.4 ได้รับการรับรองจาก อย.
ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เลขที่ 10-108758-5-0045 (ยูเฮอร์เบิล เอ็ม) และ 10-108758-5-0046 (ยูเฮอร์เบิล ดับเบิ้ลยู) อย่างถูกต้อง
สรุป
การปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน ส่งผลลดคุณภาพการใช้ชีวิตในระยะยาว และเพิ่มความอัตราการเสียชีวิต เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก เสี่ยงต่อการเกิดโรคกลุ่มเมตะบอลิกส์ และโรคซึมเศร้า จึงควรใส่ใจสุขภาพด้วยการรับประทานยูเฮอร์เบิล เพื่อดูแลร่างกาย ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคร้ายแรงในอนาคต