โรคไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease, CKD) หมายถึง ภาวะที่ไตมีโครงสร้างหรือหน้าที่การทำงานบกพร่อง เป็นระยะเวลานานกว่า 3 เดือน โดยพิจารณาความรุนแรงของโรคได้จาก “ปริมาตรของเลือด ที่ไตสามารถกรองของเสียออกไปได้หมด ภายในหนึ่งนาที” หรือ GFR (Glomerular Filtration Rate) ซึ่งเป็นค่าที่จะใช้แบ่งว่า โรคไตมีกี่ระยะ และต้องดูแลอย่างไร นอกจากนี้ยังสามารถใช้พยากรณ์การดำเนินของโรคได้อีกด้วย
1. โรคไตมีกี่ระยะ?
หากแบ่งตามเกณฑ์ของ KDIGO (Kidney Disease Improving Global Outcomes) 2012 ที่ใช้เป็นมาตรฐานสากล จัดทำโดย National Kidney Foundation องค์กรที่ออกแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคไต ซึ่งจะพิจารณาจากค่า GFR หรือค่าอัตราการกรองของไต* ที่กำหนดไว้ว่า โรคไตมีกี่ระยะ
- ระยะที่ 1 – ค่า GFR ≥ 90 ค่าปกติหรือสูง
- ระยะที่ 2 – ค่า GFR 60 – 89 ค่าลดลงเล็กน้อย
- ระยะที่ 3a – ค่า GFR 45 – 59 ค่าลดลงเล็กน้อย – ปานกลาง
- ระยะที่ 3b – ค่า GFR 30 – 44 ค่าลดลงปานกลาง – มาก
- ระยะที่ 4 – ค่า GFR 15 – 29 ค่าลดลงมาก
- ระยะที่ 5 – ค่า GFR < 15 ไตวายระยะสุดท้าย
หมายเหตุ *ค่าอัตราการกรองของไต (GFR) มีหน่วยเป็น มิลลิลิตร/นาที/1.73 ตารางเมตร สามารถคำนวณได้จากสูตร MDRD
2. อาการของโรคไตแต่ละระยะ
โรคไตมีกี่ระยะ อาการแต่ละระยะเป็นอย่างไร เป็นสิ่งที่ควรรู้ไว้ เพื่อให้สามารถสังเกตอาการของตนเอง และคนรอบตัวได้
- ระยะที่ 1 และ 2
เป็นระยะที่มักจะไม่แสดงอาการผิดปกติ แต่อาจพบได้จากการตรวจเลือดและปัสสาวะประจำปี - ระยะที่ 3
โรคไตระยะ 3 อยู่ได้นานแค่ไหน? โรคไตระยะที่3 อันตรายไหม? ผู้ป่วยหลายรายมักมีอาการทรุดลงเร็ว เมื่อค่า GFR เปลี่ยนจากระยะ 3a เป็น 3b อาจทำให้ปัสสาวะเปลี่ยนสี, ปัสสาวะบ่อย, ตัวบวม, มีภาวะซีด, อ่อนเพลียแบบไม่ทราบสาเหตุ และตรวจพบว่า ความดันโลหิตสูงขึ้นกว่าเดิม - ระยะที่ 4 และ 5
ระยะนี้ผู้ป่วยอาจมีปัสสาวะออกน้อย หรือไม่มีปัสสาวะเลย อาจเกิดภาวะยูรีเมีย ทำให้มีอาการเบื่ออาหาร, คลื่นไส้อาเจียนเพิ่มขึ้น, สับสนเป็นบางครั้ง และรู้สึกคันตามตัวได้
3. โรคไตระยะที่3 อันตรายไหม?
หลายครั้งที่ผู้ป่วยและญาติมักสงสัยว่า โรคไตระยะที่3 อันตรายไหม? โรคไตระยะ 3 อยู่ได้นานแค่ไหน? นั่นเป็นเพราะในระยะที่ 1-2 มักจะไม่แสดงอาการ แต่เมื่อเข้าสู่ระยะที่ 3 ผู้ป่วยบางคนอาจเริ่มแสดงความผิดปกติให้เห็น ซึ่งข้อมูลจากหลายการศึกษา ไม่สามารถสรุปได้ว่า ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 มีอัตราการเสียชีวิตเป็นอย่างไร อันตรายแค่ไหน
- มีปัจจัยหลายข้อ ที่ส่งผลต่ออัตราการเสียชีวิต ทั้งเรื่องเชื้อชาติ, กรรมพันธุ์, เศรษฐกิจ, สิ่งแวดล้อม, โรคประจำตัว
- บางการศึกษาพบว่า อัตราการเสียชีวิตของโรคไตระยะที่ 3 อยู่ที่ 6% ในช่วง 3 ปี แต่บางข้อมูลรายงานตัวเลขที่ 51% ใน 10 ปี
4. โรคไตเกิดจากอะไร ใครคือกลุ่มเสี่ยง?
โรคไตเกิดจากอะไรหลายปัจจัยร่วมกัน ทำให้ความเสี่ยงในการเกิดโรคของแต่ละคนไม่เท่ากัน แต่พอจะสรุปสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงได้ดังนี้
- การติดเชื้อในกระแสเลือด
- ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะซ้ำ
- มีนิ่วในทางเดินปัสสาวะ
- มีระดับกรดยูริกในเลือดสูง
- มีการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ เช่น ต่อมลูกหมากโต
- มะเร็งของทางเดินปัสสาวะ หรืออวัยวะข้างเคียง
- โรคเบาหวาน
- โรคความดันโลหิตสูง
- โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE)
- มีประวัติโรคไตเรื้อรังในครอบครัว, มีไตพิการแต่กำเนิด
- การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาฆ่าเชื้อ Aminoglycosides
- ใช้สมุนไพรแก้โรคไต หรือยาลูกกลอนที่ผสมสเตียรอยด์
5. กินอย่างไรให้ช่วยชะลอโรคไต?
โรคไตระยะสุดท้าย โรคไตระยะ 3 อยู่ได้นานแค่ไหน? ขึ้นอยู่กับว่า ผู้ป่วยและญาติสนใจคัดสรรอาหารการกิน มากน้อยแค่ไหน? นอกจากจะต้องกินอาหารโปรตีนลดลง, เลือกกินแป้งปลอดโปรตีน, งดไขมันอิ่มตัว ยังควรหลีกเลี่ยงวิตามินที่ละลายในไขมัน A, D, E, K และเข้มงวดในการจำกัดโซเดียม, โพแทสเซียม, ฟอสฟอรัส รวมทั้งควรเสริมด้วยสมุนไพรดูแลไตด้วย
6. สมุนไพรแก้โรคไต Uherbal
นอกจากจะรู้ว่า โรคไตเกิดจากอะไรแล้ว ยังควรรู้เพิ่มเติมอีกว่า ต้องกินอะไรเพื่อช่วยถนอมไต ไม่ให้เสื่อมเร็วกว่าที่ควร อย่างการเลือกดูแลตัวเองด้วยสมุนไพร Uherbal ที่รวมสมุนไพรชั้นดีกว่า 16 ชนิด โดยเฉพาะสมุนไพรแก้โรคไต อย่างตรีผลา, กระเจี๊ยบแดง, ถั่งเช่า, โตวต๋ง ซึ่งจะช่วยชะลอไตเสื่อม เสริมการทำงานของไตให้แข็งแรงขึ้น ทั้งยังช่วยลดอาการปัสสาวะลำบาก, ปัสสาวะขัด, ปัสสาวะเล็ด, ขับนิ่ว รวมถึงลดโอกาสติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ และต่อมลูกหมากโต ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดไตวายเรื้อรังได้
7. สรุป
โรคไตมีกี่ระยะ? หากแบ่งตามเกณฑ์ของ KDIGO 2012 แบ่งได้เป็น 5 ระยะ ทำให้ช่วยวางแผนดูแลผู้ป่วยได้ดีขึ้น ทั้งยังสามารถบอกอาการ และพยากรณ์ของโรคได้ ซึ่งคนที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคไตเรื้อรัง ควรหมั่นสังเกตอาการและดูแลตัวเอง ด้วยการใช้สมุนไพรยูเฮอร์เบิล เพื่อช่วยป้องกันและชะลอความเสื่อมของไต ทำให้ไตสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพอีกครั้ง
บทความแนะนำ
โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ อาการและวิธีดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี ! อ่านเพิ่มเติมในบทความนี้